วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้ และ เคล็ดลับ


เกร็ดความรู้ และ เคล็ดลับ ประจำวัน 12/1/2013

ยางแตก - ยางรั่ว : ถ้ายางแตกเป็นแผลใหญ่ มียางในขนาดเดียวกันก็ใส่ยางในแทน (ต้องขนาดเดียวกันกับล้อเดิม ไม่เช่นนั้นยางจะขาดบริเวณจุ๊บเติมลมขณะวิ่ง) จากนั้นเติมลมให้เต็มก็วิ่งได้แล้ว ถ้ามียางอะไหล่ก็เปลี่ยนเลยจะดีกว่า หากมีชุดปะยางติดรถมาแผลยาวพอปะได้ก็ปะไม่ยุ่งยากอะไร ยางหลุดขอบก็ถอดออกมาล้างทำความสะอาดแล้วสูบลมเข้าไปใหม่ ควรมีปั๊มลมติดไปด้วยขณะเดินทาง
( คู่มือ ออฟโรด ประเทศไทย เล่ม 2 )





เรื่องของแอร์


1
โดยคุณ :เฒ่าคาริเบียน - - [ 18 เม.ย. 2546 , 20:50:24 น. ]

ความคิดเห็นที่ 1


2
โดยคุณ :เฒ่าคาริเบียน - - [ 18 เม.ย. 2546 , 20:52:19 น.]

ความคิดเห็นที่ 2
วงจรการทำความเย็นของแอร์รถยนต์
วงจรการทำความเย็นของแอร์รถยนต์นั้น แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือส่วนความดันสูงและส่วนความดันต่ำ
ส่วนความดันสูงนับตั้งแต่คอมเพรสเซอร์ซึ่งหมุนด้วยแรงเครืองยนต์
ดูดสารทำความเย็น(น้ำยา)ที่มีสภาพเป็นก๊าซ มาอัดให้ปริมาตรเล็กลง
แล้วส่งผ่านไปยังคอล์ยร้อน(คอนเดนเซอร์) เพื่อระบายความร้อนที่เกิดจากการอัดออกไป
อุณหภูมิสารทำความเย็นเมื่อถูกอัดนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 70 องศาเซลเซียส
เมื่อผ่านเข้าคอล์ยร้อน(คอนเดนเซอร์)แล้ว อุณหภูมิจะลดลงเหลือประมาณ 62 องศาเซลเซียส
ซึ่งสารทำความเย็น(น้ำยา)จะควบแน่นกลายเป็นของเหลวที่คอล์ยร้อน(คอนเดนเซอร์)นี้
สารทำความเย็นในสภาพของเหลวจะถูกส่งไปยังถังกรองและดูดความชื้น(ดรายเออร์รีซีฟเวอร์)
เพื่อกำจัดความชื้นและกรองสิ่งสกปรก หลังจากนั้นจะถูกส่งไปยังเอ็กซ์แพนชั่นวาว์ล
ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายของส่วนความดันสูง ที่เอ็กซ์แพนชั่นวาวล์นี้สารทำความเย็นในสภาพของเหลว
จะถูกปล่อยผ่านรูเล็กๆ ให้พุ่งออกไปยังส่วนความดันต่ำของวงจรแอร์
สารทำความเย็นจะพุ่งเป็นฝอยเหมือนสเปร์ยถูกฉีดออกจากกระป๋องระเหยกลายเป็นไอ
ส่วนที่รับไอของสารทำความเย็นในส่วนความดันต่ำนั้นก้คือคอล์เย็น(อีวาพอเรเตอร์)
ซึ่งที่นั้นจะมีอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียส และสารทำความเย็นที่กลายเป็นไอนี้
จะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดกลับมาอัดและกลับเข้าวงจรทำความเย็นต่อไป

จะเห็นได้ว่าวงจรการทำความเย็นนี้ง่ายมาก แต่มันมักจะเสียให้เรารำคาญใจและรำคาญกระเป๋าตังบ่อย
ผมจึงจะลองอธิบายจากประสพการณ์ที่ต้องไปจ่ายเงินให้ช่างแอร์มามากมาย จนจับเคล็ดได้
จากรูปภาพท่านจะเห็นว่ามีอุปกรณ์อยู่หลายชิ้น แต่ที่สำคัญต่อกระเป๋าตังเรามีสามตัวเท่านั้น
คือหนึ่งคอมเพรสเซอร์ซึ่งมีราคาแพงมาก และช่างมักจะบอกว่าเสียบ่อยๆทั้งๆที่มันทนทายาด
คอมเพรสเซอร์เสียนี่ถือเป็นเรื่องซวยเอามากๆ เท่าที่ผมเห็นมารถร้อยคันจะมีคอมเพรสเซอร์เสียจริงๆ
ไม่เกินห้าคัน (เป็นการทำสถิติแบบมั่วๆนะครับ) โดยมากมันไม่เสียแต่จะโดนช่างหลอกว่าเสีย
เพราะได้ตังมากเวลาเปลี่ยนมัน ตัวที่สองก็คือเอ็กซ์แพนชั่นวาว์ล หรือช่างเขาเรียกเฉยๆว่าวาว์ล
ไอ้เจ้านี่แหละตัวดี มันเสียได้บ่อยมากจริงๆ และเป็นสาเหตุใหญ่ของแอร์ไม่เย็นดังจะฝอยในช่วงต่อไป
ตัวที่สามคือรีซีฟเวอร์ดรายเออร์ ช่างจะเรียกดรายเออร์เฉยๆ ตัวนี้ไม่มีอะไรเสียกับชาวบ้านเขาหรอกครับ
มันเป็นใส้กรองและสารดูดความชื้นธรรมดา แต่เมื่อมีการถอดวงจรแอร์ออกมาไม่ว่าส่วนใด
ท่านก็ต้องเปลี่ยนมันด้วย เพราะมันจะหมดประสิทธิภาพการดูดความชื้นเมื่อเปิดออกสู่บรรยากาศปกติ
หากท่านไม่เปลี่ยนมันจะเป็นต้นเหตุทำให้เอ็กซ์แพนชั้นวาว์ลเสียได้

อาการสำคัญอันแรกของการเสียในระบบแอร์คือ มันไม่เย็น อาการไม่เย็นนี้จะแยกได้เป็นหลายลักษณะดังนี้
1.ไม่เย็นเลย 2. เย็นน้อย 3.เย็นแป๊บเดียวก็ร้อน
อาการที่หนึ่งนั้น สาเหตุใหญ่มาจากน้ำยาแอร์ไม่พอ ท่านจะสำรวจได้โดยมองที่กระจกช่องมองของดรายเออร์
ถ้าน้ำยาแอร์น้อยมันจะมีฟองจำนวนมากวิ่งผ่านกระจกให้เห็นชัดเจน กรณีที่มองแล้วไม่มีฟองสักเม็ดผ่าน
ทั้งที่ไม่ได้เติมน้ำยาแอร์มานานแล้ว พึงสันนิษฐานได้ว่าไม่มีน้ำยาในระบบ เนื่องจากรั่วไปหมดแล้ว
เพราะเนื่องจากถ้ามีน้ำยาอยู่มันก็ต้องมีฟองผ่านไปบ้างพอสมควร ช่างแอร์เขาจะไม่เติมน้ำยาแอร์จนเต็มถึงขนาด
ไม่มีฟองเหลือในระบบ และน้ำยาแอร์นี้จะรั่วออกไปได้เสมอๆ ดังนั้นมันต้องมีฟองอยู่บ้างเมื่อท่านมองครับ
ถ้าเห็นฟองมากมายก็ไปเติมน้ำยาแอร์ซะ แอร์มันจะเย็นขึ้นมาเอง แต่ถ้าเติมแล้วไม่กี่วันเป็นอีก นี่ก็ต้องมีอะไรรั่ว
แน่นอน ต้องให้ช่างแอร์เขาไล่หาที่รั่ว โดยมากการรั่วมักจะรั่วในด้านความดันสูง เพราะแรงดันน้ำยาแอร์ครับ
ดังนั้นจุดรั่วจะมีคราบน้ำมันคอมเพรสเซอร์ เป็นคราบเหมือนน้ำมันเครื่องเหนียวๆซึมออกมาประจานตามรอยต่อ
ที่รั่ว ต้องซ่อมที่จุดรั่วก่อนจึ่งจะแก้ไขส่วนอื่นต่อไป
สาเหตุที่สองนั้นคือคอล์ยเย็นตัน อันเนื่องมาจากมีความชื้นในระบบแอร์ อันนี้เกิดจากรีซีฟเวอร์ดรายเออร์ไม่สามารถ
ดูดความชื้นไว้ได้ ความชื้นในระบบแอร์จะมากลายเป็นน้ำแข็งในคอล์ยเย็น อุดตันไม่ให้น้ำยาไหลสะดวก อาการนี้
บางครั้งจะเห็นลมเย็นที่พุ่งออกมาจากช่องลมแอร์เป็นควันขาว อาการนี้ต้องเปลี่ยรีซีฟเวอร์ดรายเออร์ และแว็คคั่ม
หรือทำสูญญากาศในวงจรแอร์ก่อนเติมน้ำยาใหม่ครับ
อาการที่สองคือเย็นน้อย อาการนี้สาเหตุแรกมาจากน้ำยาไม่พอ ก็ต้องเติมครับ สาเหตุต่อไปก็คอล์เย็นตันสกปรก
อันนี้จะประกอบกับลมแอร์พัดเบาลง ทั้งที่มอร์เตอร์ก็หมุนดี อันนี้ต้องล้างตู้แอร์ ซึ่งปัจจุบัญสามารถล้างได้โดยไม่ต้องถอดตู้
แต่ถ้าถอดตู้ล้างจะสะอาดกว่าแต่ต้องเปลี่ยนรีซีฟเวอร์ดรายเออร์ใหม่ด้วยครับสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนก็ว่ามาแล้ว
สาเหตุต่อไปก็คือระบายความร้อนไม่ดี อันนี้เกิดจากคอล์ยร้อนและพัดลมแอร์ สาเหตุนี้แมงหวี่เป็นกันได้มาก
คอล์ยร้อนอาจสกปรกมีฝุ่นผงเศษถุงพลาสติกใบไม้แมลงสารพัดไปจุกตามครีบระบายความร้อน ก็ทำความสะอาดซะ
ครีบเกบุบบู้บี้ เอาไม้เสียบลูกชิ้นค่อยๆบรรจงแซะจัดระเบียบสังคมมันใหม่ อย่าเอาไขควงเอาเหล็กไปทำนะครับ
หนักมือไปมันทะลุล่ะก็เรื่องใหญ่ ไม้เสียบลูกชิ้นนี้ดีที่สุด ถัดมาก็พัดลมแอร์ไม่หมุนหรือหมุนช้าลง อันนี้ต้องอาศัยฟังเสียง
ปกติมันเคยดังหึ่งๆ ต่อมาดังแหงวๆ ก็มีแปรงถ่านหมดมีอะไรเข้าไปขัด เศษผงในพัดลม ต้องถอดออกมาวิเคราะห์กัน
เรื่องพัดลมแอร์นี่มีเคล็ดอันหนึ่งต้องรีบเล่าไว้ก่อนที่จะลืม (คนแก่ขี้ลืม) ท่านเคยสังเกตุไหมว่าพัดลมแอร์นั้นมันจะหมุน
ตามคอมเพรสเซอร์ทำงาน ลองจอดรถติดเครื่องเปิดแอร์ดูนะครับ เวลาคอมเพรสเซอร์ทำงาน พัดลมมันก็จะหมุน
พอคอมเพรสเซอร์ตัด พัดลมก็หยุดหมุน วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้แมงหวี่ของท่านเย็นขึ้นก็คือ แก้ไขการหมุนของพัดลมแอร์ซะใหม่
โดยต่อสายของมันกับวงจรสวิทช์กุญแจ กล่าวคือเมื่อเครื่องยนต์ทำงานพัดลมแอร์จะต้องทำงานด้วย ไม่ว่าท่านจะปิดแอร์
หรือไม่ก็ตาม สาเหตุหรือครับ ก็เมื่อท่านไม่เปิดแอร์ ลมจากพัดลมนี้จะไปช่วยไล่ความร้อนออกจากหม้อน้ำ และถ้าท่านเปิดแอร์
เวลาคอมเพรสเซอร์มันตัดแล้ว ใช่ว่าคอล์ยร้อนมันจะเย็นลงเลยเมื่อไหร่ มันก็ยังคงร้อนค้างคาอยู่ ก็ให้พัดลมแอร์มันไล่ความร้อนไปเรื่อยๆ
ถ้าคอล์ยร้อนเย็นลงแล้วลมนั้นก็ยังไปช่วยหม้อน้ำต่ออีก อันนี้หน้าร้อนจะช่วยท่านได้มากครับ สาเหตุที่สามของการเย็นน้อย
คือเอ็กซ์แพนชั่นวาว์ลเสียซึ่งจะสัมพันธ์กับอาการที่สามต่อไปนี้
อาการที่สามคือเย็นแป๊บเดียวแล้วร้อน ต้องปิดแอร์สักพักเปิดใหม่เย็นแป๊บเดียวอีก อาการนี้เริ่มต้นของอาการเอ็กซ์แพนชั่นวาว์ลเสีย
ช่างเรียกวาว์ลแตก ถ้าทนทู่ซี้ใช้ต่อไป มันจะแตกบริสุทธิ์แล้วไม่เย็นเลยกลายเป็นอาการที่หนึ่ง สาเหตุที่วาว์ลมันแตกนี้โดยมากมาจากความชื้น
ไม่ว่าท่านจะแว็คคั่มไล่ความชื้นในระบบแอร์และมีดรายเออร์ดักไว้แล้ว แต่ระบบแอร์มันมากด้วยข้อต่อครับ โดยเฉพาะทางด้านความดันต่ำ
เวลาคอมเพรสเซอร์ดูดไอน้ำยามาอัด ถ้าข้อต่อในด้านความดันต่ำรั่ว มันจะดูดอากาศภายนอกให้ซึมเข้ามาในระบบ พอดรายเออร์ดูด
ความชื้นจนเสื่อมสภาพ ความชื้นก็จะเพ่นพ่านในระบบ และไปกลายเป็นน้ำแข็งอุดตันที่เอ็กซแพนชั่นวาว์ลหรือคอล์ยเย็น
เมื่อไปตันที่เอ็กซ์แพนชั่นวาว์ลมันจะขยายตัวตามประสาน้ำแข็ง ดันช่องเล็กๆของวาว์ลให้ขยายถ่างโตขึ้น ช่างเรียกว่าแตกครับ
ลองนึกถึงรูที่กระป๋องสีเสปร์ย เวลาท่านฉีดพ่นมัน ถ้าสีมาอุดตันก็จะทำให้พ่นไม่ออก ถ้าท่านไปทะลวงรูให้มันบานมันก็จะไม่พุ่ง
แต่จะทะลักหยดแหมะๆออกมา วาว์ลแอร์ก็เหมือนกัน เมื่อมันแตกแล้วก็เสียครับต้องเปลี่ยน และอาการนี้ช่างมักต้มท่านว่าคอมเพรสเซอร์พัง
ระวังให้ดีนะครับ เปลี่ยนวาว์ล+ดรายเออร์+แว็คคั่ม+เติมน้ำยา ไม่ควรจะเกินพันห้า เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ ห้าพันขึ้นนะครับ
ถ้าวาว์ลแตกก็เอาอันใหม่ใส่เข้าไป เปลี่ยนดรายเออร์ แว็คคั่มระบบ (ทำให้ในระบบแอร์เป็นสูญญากาศ) และเติมน้ำยาใหม่
แอร์ก็จะกลับเย็นขึ้นมาได้ครับ
อาการสัพเพเหระยังมีอีก เช่นคลัชแอร์เสีย มันไม่ตัดไม่ต่อคอมเพรสเซอร์ อันนี้สังเกตุง่าย เสียงป๊อกแป็กเวลาคอมมันตัดต่อจะหายไป
มองคอมเพรสเซอร์ก็รู้ เพราะถ้ามันหมุนด้านหน้าคลัชจะหมุน ถ้าคลัชไม่ต่อด้านหน้าจะหยุดนิ่งๆ เรื่องคลัชเสียนี้ก่อนอื่นดูรีเลย์คลัชก่อนครับ
บางทีคลัชดีรีเลย์เสียก็มี ไม่ต่อไฟไปให้ รีเลย์คลัชก็อยู่แถวๆตัวรีซีฟเวอร์ดรายเออร์ครับ ในฝากระโปรงโดยมากด้านคนนั่ง
อาการสายพานแอร์หย่อนลื่น อันนี้มีมากเหมือนกัน สายพานมันยืดหย่อนคอมเพรสเซอร์ก็หมุนไม่เต็มที่มีลื่นไถล มันหย่อนก็ทำให้มันตึงซะ
ถ้าร่องสายพานเปื้อนน้ำมันจาระบีก็ทำความสะอาดซะ สายพานเก่าแตกก็เปลี่ยนซะ
อาการลมไม่แรง อันนี้เป็นในรถที่คอล์ยเย็น ลมพัดออกมาไม่แรง อย่าพึ่งไปนึกว่ามันตันอย่างเดียว มีอาการตลกๆอีกอย่างหนึ่ง
คือน้ำท่วมในคอล์ยเย็น เนื่องมาจากท่อระบายน้ำตัน ปกติท่านจอดรถจะเห็นน้ำแอร์หยดออกมา นั่นมันมาจากคอล์เย็นครับ
มันควบแน่นน้ำในอากาศไว้ในตัว มีท่อระบายออกทิ้ง บางทีฝุ่นผงไปอุดตันท่อนี้ น้ำก็ไปท่วมอยู่ในคอล์ยเย็น ลมมันหมุนวน
ในคอล์ยเย็นไม่ได้ลมอั้น ผลคือลมไม่แรงทำให้นึกว่ามันตันซะแล้ว ดังนั้นหมั่นสังเกตุน้ำแอร์ที่หยดออกมาบ้าง ถ้าหายไปก็
ทะลวงท่อมันซะบ้างครับ
อาการเสียของแอร์ยังมีอีกนะครับ ตอนนี้นึกไม่ออก ท่านใดสงสัยก็ถามมา ถ้าผมรู้จะบอกให้ครับ ถ้าไม่รู้ก็จนใจ แหะๆๆๆ

ความรู้เบื้องต้น อาการเสียของเครื่องปรับอากาศ


 ความรู้เบื้องต้น อาการเสียของเครื่องปรับอากาศ
 ลองสังเกตกันดูนะคะ ว่าแอร์ของท่านมีอาการอะไรเหล่านี้หรือเปล่า และมากหรือน้อย เพระอาการเหล่านี้บางสาเหตุก็ทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นนะคะ หรือบางสาเหตุก็ทำให้แอร์เสียเร็ว ถ้าเราหมั่นสังเกตุและแก้ไขแต่ต้นๆ ก็ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และช่วยชาติประหยัดไฟด้วยนะคะ ที่สำคัญทำให้เราใช้แอร์ได้คุ้มราคา กระเป๋าไม่แฟบตอนซ่อมแอร์นะคะ ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ หรือสงสัยตรงไหนก็ลองปรึกษาช่างแอร์ได้ 

อาการเสียต่างๆ ของแอร์ และสาเหตุ


เอ็นทีแอร์ได้รวบรวมอาการเสียของเครื่องปรับอากาศ และสาเหตุเบื้องต้น
เป็นเกร็ดความรู้เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษา และไว้เป็นแนวทางในการซ่อมแซมและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
อาการสาเหตุเบื้องต้น
เป็นน้ำแข็งน้ำยารั่ว / สกปรก / มอเตอร์ไม่มีแรงหมุน
น้ำรั่วสกปรก / ท่อน้ำตัน / น้ำยาขาด
สวิตซ์เด้งคอมเสีย / สายไฟช๊อต / เบรกเกอร์เสีย / แค๊ปเสีย
กินไฟเกินสกปรก / น้ำยาขาด / ห้องใหญ่ / คอมเสีย / แค๊ปเสีย
เปิดไม่ติดฟิวส์ขาด / เบรกเกอร์เสีย / สายไฟขาด / มอเตอร์เสีย
เสียงระเบิดแค๊ปต่างๆ ระเบิด / คอมตัน / ลิ้นคอมเปิด
ไฟช๊อตในเครื่องสายไฟโดนท่อทองแดง / คอมเสีย / มอเตอร์เสีย
เปิดแอร์ไฟตกสายหลวม / ไฟฟ้าไม่พอ / คอมเสื่อม
น้ำเกาะเป็นเหงื่อแอร์เล็ก / แอร์สกปรก / ยางกันซึมเสื่อม / ไม่ปิดประตู
เย็นไม่ฉ่ำสกปรก / คอมไม่มีกำลัง / ห้องใหญ่เกิน / น้ำยาขาด

อาการเสียทีวี SONY

อาการเสียทีวี SONY
รุ่น KV-G21P2   แท่น BG-2S

  อาการเสีย - เปิดไม่ติด 

  วิธีซ่อม   ตรวจเช็ค R611 ขาด STR S6707 ช็อต Hor Out ช็อต    เปลี่ยนอะไหล่ ยังไม่ใส่ H Out วัดไฟ B+    ได้ปกติ  115 โวลท์
               แล้วลองใช้หลอดไฟ 60 W. คร่อมชุด B+ เสียบปลั๊ก   ผลคือ R611 ขาด STR S6707 ช็อต อีก

               เปลี่ยนใหม่  เลยไม่กล้าคร่อมหลอดไฟที่ชุด B+  วัดไฟได้ 115 โวลท์ปกติ
               ใส่ Hor Out  เปิดแล้วตัดอีก ไฟ B+ คงที่ 115 โวลท์


               ตรวจดูปริ๊นท์ล่อน ที่หม้อแปลง ฮอร์ไดร์ ขดที่จ่ายไฟ ไปขา เบส Hor Out   เปิดสวิทช์มีภาพมีเสียงแต่
               มีเส้นขาวๆด้านบนอีก ประมาณ 2-3 เส้น  แนวนอน

               เปลี่ยนคอนเดนเซอร์ค่า 100 uF 35 V ภาคเวอร์ ตำแหน่ง C552  ใช้ได้   ภาพและเสียงดี 100 %

        บอกเล่าประสบการณ์ครับ  อาจจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย   บางเครื่องเจอ5-6 อาการ ซ่อมเครื่องเดียว
        เท่ากับทำเครื่องอื่นได้หลายเครื่อง

สรุปอาการเสียโทรทัศน์สี Panasonic GP3/ GP3


สรุปอาการเสียโทรทัศน์สี Panasonic
GP3/ GP3
โดย อ.สำราญ  ชนะบุตร
รุ่น
อาการเสีย
ตัวเสีย
ข้อควรระวัง
TC-29PS60B- เปิดเครื่องแล้วเกิดจอด่างทั้งจอแล้วตัดR514,R515,D513,D515ไม่ควรเปิดนาน
TC-21FG10B- เปิดเครื่องไม่ทำงาน LED ติดสีเขียวRM1104
- ตรวจเช็ค +5V ที่ตัวรับรีโมท
TC-21FJ10B
- เปิดเครื่องเห็นจอสีม่วง มีเส้นสบัดกลับ
สักพักเครื่องตัดLED ติดสีแดงกระพริบ
IC601- เช็คไฟสกรีนพบว่าสูงมาก
TC-21FJ10B- ไม่มีภาพ จอมืดQ870- เช็ค IC851 +8V , +5V  ไม่จ่าย
TC-21PS50B- ภาพเป็นแบลง์กิ้งR374, IC351
- เช็คไฟ+175V จากขา 1 FBT.
ถ้าพบ R374 ขาดเปลี่ยน IC351
TC-21PS50B- ภาพมืดR557
- เช็คไฟ +140V ปกติ มีเสียง
จอมืด แต่ไส้หลอดติด
TC-21PS50B- ไม่มีเสียงIC2101
- เช็ค A.out ขา 48 (IC601) มี
เช็คขา 60 (IC601) มี
TC-21PS50B- เปิดเครื่องได้ปกติ แต่ไม่มีภาพ เสียง- R1105
-  เช็ค SDA /SCL IC1103,
IC601, IC2101, TUNER
TC-21PM70- เปิดเครื่องนิ่ง ๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นC826-  เช็ค +300 V ปกติ
TC-25FJ20B- ภาพเว้าQ701, R713- เช็ค  PIN AMP Q701
TC-25FJ20B- ไม่มีเสียงIC2101
- ทดลองใช้หูแนบฟังว่าเปิดเครื่องขึ้นมาลองเร่งเสียงดูว่าได้
ยินเสียงหรือไม่ หรือให้ทดลอง
เข้า SERVICE MODE จะพบ
MSP -------- (FAIL)
TC-25FJ20B- ไม่มีสีIC5550 
TC-25FJ20B- รับสัญญาณภาพกระพริบR5570 
TC-21PS50B- มีภาพมีเสียง เร่ง Contrast ไม่ได้R557 ขาด
- เช็ค RGB output =1.2V
วัด ไฟขา 47 IC601=2.5V
TC-29PS60B- เปิดเครื่องทำงาน 1-2 วินาที แล้วตัดR556 ขาด- เช็ค Q581,Q580,Q852,Q850
TC-21FJ50B- เปิดเครื่องไม่ทำงาน มีเสียงผิดปกติIC880- เช็คไฟเข้า – ออก IC880
TC-21PS50B- ภาพเป็นแถบสีดำทาง HOR- C605 , C606
- เช็คไฟที่ขา 10 ,11 IC601
( 4.9 V , 3.3 V)
TC-21FX20B- เปิดเครื่องไม่ทำงาน LED ติดแดง เขียว ส้ม สลับไปมาIC601
- เช็คเงื่อนไขของ IC601 มีครบ
ทุกอย่าง
สรุปอาการเสียโทรทัศน์สี Panasonic
                 GP4 / GP41              โดย อ.สำราญ  ชนะบุตร
รุ่น
อาการเสีย
ตัวเสีย
ข้อควรระวัง
TC-21GX10B- ภาพเป็นสีแดงทั้งจอIC351- เช็ค RGB output ผิดปกติ
TC-29FG20B- เครื่องไม่ทำงานIC601- ไฟครบทุกอย่าง
TC-21FX20B- ไม่ทำงาน +300V ค้างQ803, D802- เช็คชุดสตาร์ทเครื่อง
TC-29FX20B- ภาพมีสีใดสีหนึ่ง สว่างมากแล้วตัด-Q360,Q361,Q362- เช็คที่ Y - PCB
TC-29FX50B- เปิดเครื่องเงียบ ไม่ได้ยินเสียงอะไรC818
- เช็ค +300V มี เช็คไฟสตาร์ท
สวิงขึ้นลง หลังหม้อแปลงไม่มีไฟออก
TC-29FX50B- เป็นเส้นเดียวกลางจอIC601- วัดสัญญาณ Vert out ไม่มี
TC-29FG20B
- ภาพหดด้านล่าง ด้านบนเป็นสี่เหลี่ยม
 คางหมู
IC601- เช็ค IC451 , IC601
TC-29PS61B
- เครื่องไม่ทำงานLED กระพริบ
 เขียว – แดง สลับกัน
IC601 
TC-29FX20B- เปิดเครื่องติดสแตนบายIC601- เช็คขา 65 ไม่มีไฟ 3.3V
TC-29FX50B- ไม่มีเสียง- Q2101- +8V หายไป
TC-29FX50B- ต้องกดPOWER ON ทุกครั้งที่เปิด- IC1101 (MEMORY)- เช็ค SDA / SCL
TC-29FX50B- จอด่าง DEG ไม่ทำงานD837 
TC-29FX50B- เครื่องติด Protec เป็นบางครั้งC877
- เช็คขา Protec (47) = 3.3 V
 พบ Q870 ผิดปกติ
TC-29FX50B- บางครั้งเครื่องไม่ทำงานC842- เช็ควงจรสตาร์ท
TC-29FX50B- เปิดเครื่องไม่ทำงานฟิวส์จะขาดตลอด- D836 
TC-21FX20B- เครื่องไม่ทำงาน- Q551- เช็คคำสั่ง ON / OFF ปกติ
TC-29FX20B- เปิดเครื่องหน้าจอเป็นสีรุ้งR516- เช็ค IC451 ด้วย
TC-21FX20B- ภาพมืดด้านข้าง และหดแนวตั้งC565 
TC-21FX20B- เครื่องไม่ทำงานIC605 
  

รวมอาการเสีย TV SAMSUNG

รวมอาการเสีย TV SAMSUNG article
  Samsung รุ่น CB-20V10MA ( KS1A)
 อาการ  ไม่มีเสียงทั้ง TV และ AV เอาสัญญาณจาก AV OUT ไปต่อข้องนอกก็ไม่มีเสียงเอาสัญญาณข้างนอกมาต่อเข้าที่ AV IN ก็ไม่มีเสียงแต่ถ้าเอาสัญญาณข้างนอกมาต่อที่ตำแหน่ C 607 และ C603 จะมีเสียง แต่เล่งเสียงขีดเดียวก็ดังหมดเลิยถ้าเบาสุดเสียงก็จะเงียบเล่งก็ดังอีก IC = เสียง TDA8944J = IC = 201S จังเกิ้ล TDA9381PS/N2/3I0975 & CC3998 & VAN4C1 & SPM-802EAN4 ผมดูวงจรของ KS1A แล้ว IC เสียงคนละเบอร์กัน จะต้องไปดูแท่นไหนถึงจะตงรุ่นครับเพราะที่เครื่องเขียนว่าเป็นแท่นนี้ ผมลงแมมใหม่แล้วก็ไม่หาย ชั่วยชี้แนะด้วยครับว่าจะแก้ไขจุดไหนได้บ้าง
ขั้นตอนการซ่อม
ตอนนี้มีเสียงแล้วครับ แต่ดู TV เสียงจะซ่า แต่ดู AV ไม่ซ่า แต่ไม่ค่อยด้งแค่พอฟังได้ ผมกดปุ่ม S . MODE / I-II ที่รีโหมดก็ไม่หายซ่า มีรูปรีโหมดมาให้ดูด้วยว่าใช่ปุ่มนี้หรือเปร่า ถ้าใช้แล้วจะต้องแก้ไขตรงไหนต่ออีกครับ
     ปิดงานแล้วครับ เสียงซ่าเกิดจาก ปรับ IF มาผิด ที่ไม่มีเสียง ลงอีพ้อมใหม่ใช้ได้ ที่ผมลงไว้ครังก่อนนั้นผมเอาของรุ่น CB-20MX แท่น KS1A มาลงไช้ไม้ได้ แต่ก่อน ๆ เคิยลงได้ ไม่รู้ว่าตอนนี้ทำไมถึงใช้ไม่ได้ อ้อเครื้งนี้เจ้าของเอาไปซ่อมที่อื่นมา 2-3 ร้านแล้วแก้ไม่หายอาไหร่ก็มาไม่คบผมจึงมึน รุ่นนี้ต้องดูวงจร แท่น KS1D จะใกล้ เครียงกันมาก แท่น KS1A IC เสียงคนละเบอร์กัน ขอขอบคุณอาจารย์และสมาชิกทุกๆท่านที่ให้คำตอบและเข้ามาดูหัวข้อนี้
วิธีเช็ค X-RAY PROTEC 
1.    วัดแรงดันไฟที่ขา C วงจรX-RAY PROTEC ( QR001 ) ว่ามีแรงดันไฟหรือไม่ถ้ามี แสดงว่า วงจรX-RAY PROTEC ทำงาน 

2.     วัดแรงดันไฟที่ขา B ( QR001 ) ว่ามีแรงดันไฟถึง 5.6 Vหรือไม่ถ้า มี แสดงว่า ไฟ HIGHT VOLT เกิน ท่านจะต้องเช็ค C DAMPER ว่า ขาด หรือ ประจุลด หรือไม่

3 .  วัดแรงดันตกคร่อม( VBE ) ขา B-E ( QR001 ) ว่ามีแรงดันไฟตกคร่อม 0.6 V หรือไม่ ถ้าไม่มีแรงดันไฟตกคร่อมแต่ วัดแรงดันที่ขา C ( QR001 ) มีแสดงว่า ทรานซิสเตอร์ รั่ว C-E

4.    วัดแรงดัน ที่ขา B มีไม่ถึง 5.6 V แต่ ขาC ( QR001 ) มีแรงดันไฟ แสดงว่า DR002 (ซีเนอร์ไดโอด 5.6 V ) รั่ว
 
SAMSUNG CS21Z45ML
จังเกิ้ล TDA 12156PS/N1/3 STR W6750 LA78045 ไฟ +ปรกติ
อาการ    ภาพจืดขาวปรับสกรีนมีเส้น เช็ค ABL IC RGB ลงเมโมรี่ใหม่อาการเหมือนเดิมเลยซื้อ IC จังเกิ้ลมาทดลองใส่ ใด้อาการใหม่คือติด สแตนบายไฟ +90V
                 ic ตัวเดิมภาพจางลงอีรอม ปรับโหมดไม่หาย ไปซื้อ ic จากบริษัทมาแต่ pass ไม่ตรงกับตัวเดิมแต่บริษัทยืนยัน นอนยันว่ารุ่นนี้ต้องใช้ pass นี้ แต่เอามาใส่เปิดไม่ติด ผมเลยไปสั่งซื้อตาม paas เดิมรอ 7 วัน พอใด้มาใส่ใช้ใด้แต่ปรับ vert นิดหน่อยก็ใช้ครับ โดน ic 2 ตัว1300กว่าๆๆเซ็งๆๆๆ ผมเจอมา2 3เครื่องแล้ว pass เดิมกับตัวที่ซื้อมาใหม่ไม่ตรงอาการเปลี่ยน แต่เบอร์ที่ตัวตรงกัน เช่น pass เดิม
                        AA97-17139A TDA12156PS/N1/3
pass ใหม่บริษัทให้มา
                  AA09-00572A TDA 12156PS/N3/3
เอามาใส่อาการเปลี่ยนเลยครับ เผื่อจะใด้ไม่เสียค่าโง่
 
   พาสเดิม       หมายถึง สติ๊กเกอร์สีขาวนั่นเอง เพรราะฉะนั้นเวลาสั่งให่สั่งซื้อตามพาสที่สติ๊กเกอร์สีขาวระบุ แต่ถ้าดูที่ตัวไอซีไม่ได้ ครับ ถ้าสั่งตามเบอร์ไอซีนั้น จะเป็นไอซีเปล่าครับไม่มีข้อมูล เวลาใส่เครื่องก็จะสแตนบาย ออนไม่ได้ ไอซีเปล่าจะมีราคาถูก เพราะยังไมมีข้อมูล ราคาไม่เกิน400 บาท
samsung cs29z4ml
อาการ     เปิดแล้วตัดแท่น ksda     ic ใต้ปลิ้นเบอร์     AA97-17531A/562A
ไฟb+130สวิงระหว่าง130-140  V     H- OUT ทำงานแล้วตัด ตัดต่อไปเรื่อยๆ ไฟ 5V 3.3v ปกติเช็ดดู FBTไม่เสีย
ตัวเสีย คือ IC ชิฟใต้ปริ้นส์
Samsung slim  fit รุ่นไร้ฝุ่น

อาการ     HOR  ช็อต ( TT2222) ซีแดมป์เช็คแล้ว ไฟ120ปกติ  FBT. AA26-00305A

      หลายท่านบอกว่า แท่นนี้ถ้าฮอร์ช๊อด FBTมักจะเสียด้วย เบอร์เดิมตอนนี้คือ AA26-00305A
เช็ค HOR  ช็อต TT2222   R625   1 Ohm ขาด FBT. ไม่น่ารอด

ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ ตอน ผลกระทบจากโทรทัศน์


ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ ตอน ผลกระทบจากโทรทัศน์




 
โทรทัศน์สามารถส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผลกระทบจากสื่อหรือเนื้อหาทางโทรทัศน์แต่เป็น ผลกระทบจากแสงหรือการมองทีวีนานๆ ซึ่งช่วงวัยที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ วัยเด็ก ยิ่งอายุน้อยก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก โดยเฉพาะในเรื่องของสายตาและระบบประสาท ศูนย์เฝ้าระวังภัยเทคโนโลยี(IT WATCH) มูลนิธิกระจกเงา ถือโอกาสช่วงปิดเทอมนี้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าจะเป็นผลจากการศึกษา วิเคราะห์ที่ผ่านมานานแล้ว แต่ก็ยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

โทรทัศน์กับพัฒนาการเด็ก

ช่วง 7 ปีแรกของเด็ก

เป็นช่วงที่ทักษะการใช้กล้ามเนื้อกำลังเจริญเติบโต การเล่นที่มีการเคลื่อนไหวจะกระตุ้นเด็กและปลุกให้ตื่นตัว เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง

การที่เด็กนั่งดูโทรทัศน์นานๆ เด็กจะไม่เป็นไปตามวัยที่ควรจะเป็น ไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ซ้ำร้ายโทรทัศน์ยังทำลายศูนย์รวมความสนใจของเด็กอีกด้วย ขบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็กๆ จะฝึกการเรียนรู้จากการลงมือกระทำ จากการเลียนแบบสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเขา เด็กที่ดูโทรทัศน์จะไม่ได้พัฒนาทักษะต่างๆ แต่อย่างใดเลยและยังทำให้ผู้ดูเฉื่อยชาลง ขาดแรงจูงใจและความมุ่งมั่นในการทำสิ่งต่างๆ

ช่วง 7 ปีต่อไป ( 8 - 14 ปี )

เป็นช่วงเวลาที่เด็กพัฒนาอารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ และจังหวะการหายใจ

หากเด็กติดโทรทัศน์จะส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจของเด็กเพราะความเร็วของภาพ มีความเร็วเกินไป เมื่อระบบการหายใจของเด็กติดขัดจะนำผลไปสู่อารมณ์ ความรู้สึกและจิตใจของเด็ก ทำให้เกิดความก้าวร้าว การเล่นที่รุนแรง แล้วยังกระทบต่อสุขภาพของเด็กด้วย

โทรทัศน์กับพัฒนาการทางสมอง

โทรทัศน์จะกระตุ้นสมองส่วนเล็กๆ ส่วนหน้า เป็นการรับรู้ข้อมูลโดยปราศจากการวิเคราะห์อย่างตระหนักรู้ ความเร็วของภาพที่เร็วเกินไปจะทำให้เซลล์สมองของเด็กรับภาพแล้วถูกตัดทิ้ง หากดูเกิน 20 นาที ประสาทหูตาจะล้า และต่อไปถ้ามีเรื่องน่าสนใจเข้ามาเด็กก็จะไม่รับ

การดูโทรทัศน์เป็นการใช้สมองซีกขวามากเกินไป ในสมองเด็กที่กำลังพัฒนาจะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายจากซีกขวาที่ไม่มีคำพูดมี ภาวะฝันไปสู่ซีกซ้ายที่ใช้ตรรกะ คำพูด ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการอ่านวิเคราะห์และการฟังแบบเชื่อมโยง

โทรทัศน์ไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เด็กได้พูดโต้ตอบ มีเพียงภาพและเสียงที่ผ่านลำโพง ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) ทำให้เด็กไม่ได้พูดโต้ตอบด้วย เด็กที่ติดโทรทัศน์มากเกินไปอาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาช้าเนื่อง จากไม่ได้มีความจำเป็นที่จะโต้ตอบทางภาษา เด็กวัยนี้ยังต้องเรียนรู้ผ่านการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา ขณะดูโทรทัศน์ผู้ปกครองจึงควรพยายามชี้ชวนพูดจาซักถามเด็กด้วย

ผลกระทบจากโทรทัศน์ต่อสุขภาพ

ระบบประสาท ปวดศีรษะ สายตา

สำหรับเด็กเล็กโทรทัศน์มีรังสีที่มีผลเสียต่อสายตา ในขณะที่จอรับภาพทางประสาทตาของเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้สายตาของเด็กก่อนขวบปีจะเห็นภาพและสีต่างๆ ได้อย่างลางเลือน และเหมือนคนสายตาสั้นคือ เด็กอายุเดือนแรกจะมองเห็นแต่สีขาวและดำในระยะ 12 - 15 นิ้ว นานไม่เกิน 5 วินาที เด็กอายุ 2 เดือน มองเห็นสิ่งของและสีแดง สีเขียว สีเหลือง ได้ชัดเจนในระยะไม่เกิน 20 นิ้ว และอายุ 3 เดือน มองเห็นชัดเจนในระยะ 1 ฟุต การให้เด็กเล็กดูโทรทัศน์ โดยเชื่อว่าเด็กจะรับรู้ภาพและภาษาได้อาจใช้ไม่ได้ผล อีกทั้งการได้รับแสงที่มากเกินไปจะส่งผลต่อสายตา เช่น ระบบประสาท การปรับแสงของเลนส์ตา กล้ามเนื้อตาเกร็ง สายตาสั้น เป็นต้น และอาจทำให้ดวงตาเกิดการเหนื่อยล้าและเสียเร็วขึ้นได้

การศึกษาวิจัยที่ประเทศอังกฤษได้ข้อสรุปว่า แสงที่กระพริบเร็วมีผลต่อระบบประสาทโดยอัตรากระพริบแสงต่ำสุดทำให้เกิดอาการ กับระบบประสาทคือประมาณ 18 ครั้งต่อวินาที จากนั้นทำให้การแพร่ภาพในประเทศอังกฤษถูกควบคุมให้กระพริบภาพได้ไม่เร็วกว่า 3 ครั้งต่อวินาที และมีข้อแนะนำว่า การดูทีวีอย่างมีความสุข คือไม่มีภาพกระพริบเร็วและจ้าเกินไปและควรอยู่ห่างจากจอ อย่างน้อย 6 ฟุต โดยเปิดดูในห้องที่เปิดไฟสว่าง จะช่วยลดผลจากการกระพริบของภาพและไม่เป็นอันตรายต่อสายตา

ปัจจัยกระตุ้นโรคลมชัก

อาการชักกับการไวต่อแสงหรือ photosensitivity ในผู้ป่วยโรคลมชักบางรายเมื่อได้เห็นแสงกระพริบหรือรูปภาพที่เป็น pattern ทำให้เกิดอาการชักขึ้นมา เรียกว่า “photosensitive epilepsy” สิ่งกระตุ้นที่เป็น photosensitive เช่น จอโทรทัศน์มีภาพหรือแสงที่กระพริบ ภาพเคลื่อนไหว จอคอมพิวเตอร์ เช่น วิดีโอเกมส์ หรือรายการทีวีที่มีสีหลายสีสลับกันไปมา แต่ไม่ใช่ว่าแสงต่างๆเหล่านี้จะทำให้ชักทุกครั้ง ยังต้องมีปัจจัยประกอบอื่นๆด้วย เช่น ความถี่ของไฟกระพริบซึ่งโดยทั่วไปความถี่ที่กระตุ้นอยู่ในช่วง 5-30 Hz ความสว่าง ความแตกต่างของแสงกับพื้นหลัง ระยะทางระหว่างผู้มองกับต้นกำเนิดแสง ความยาวของแสง

โอกาสที่ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะรวมกันทำให้กระตุ้นให้ชักมีน้อย แต่เพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยลมชักที่ไวต่อแสงควรที่จะดูโทรทัศน์ควรให้มีแสงสว่างพอเพียงเพื่อลด ความแตกต่างระหว่างหน้าจอกับความสว่างของห้อง ลดแสงสว่างหน้าจอ ดูโทรทัศน์ให้ห่างพอสมควร ใช้รีโมทในการเปลี่ยนช่องเพื่อจะได้ไม่เข้าใกล้โทรทัศน์ ไม่ดูโทรทัศน์นานเกินและอาจใส่แว่นตาตัดแสง ในการเล่นวิดีโอเกมส์ นั่งให้ห่างหน้าจอประมาณ 2 ฟุต ลดแสงหน้าจอ ถ้าเหนื่อยอย่าให้เด็กเล่นเกมส์ พักเป็นระยะและมองไปไกลๆ จากหน้าจอสักระยะและอาจปิดตาข้างหนึ่งสลับกันและถ้ารู้สึกเหนื่อยหรือผิด ปกติต้องหยุดเล่น ถ้าเล่นคอมพิวเตอร์ควรใช้จอแบนหรือจอ LCD ใช้แผ่นกรองแสง

สมาธิสั้น

เด็กในวัยแรกเกิด ถึง 6 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดสำหรับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการกระตุ้นโดยพ่อแม่เป็นผู้สอน ดังนั้นการที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ นานๆ จะทำให้เด็กไม่มีพัฒนาการสมวัยและมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคสมาธิสั้น

โรคอ้วนและโคเลสเตอรอลในเลือดสูง

การดูทีวีมาก ๆ สัมพันธ์กับโรคอ้วนและโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เนื่องจากการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ การรับประทานของขบเคี้ยวระหว่างดูทีวี และโรคอ้วนในเด็กจะมีแนวโน้มทำให้เป็นผู้ใหญ่อ้วนหรือเกิดโรคหลายโรค เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งในลำไส้ มะเร็งเต้านม ปวดหลัง ตามมาอีก

ภาวะ “เคาช์โปเตโต้” (couch potato)

คือคนที่เอาแต่ นั่งๆ นอนๆ ดูทีวี วิดีโอ หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ไม่เคลื่อนไหวทำกิจกรรม ทำให้เป็นโรคอ้วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากภาวะเคาช์โปเตโต้ ควรมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น เด็กโตไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 ชั่วโมง เล่นเกมหรือดูทีวี เด็กเล็กไม่เกิน 30 นาที

ล่าสุดทางบริษัท ซัมซุง ของประเทศเกาหลีใต้ได้ประกาศเตือนว่า การดูโทรทัศน์แบบ 3 มิติ อาจจะก่อให้เกิดอาการคลื่นเหียน วิงเวียนได้ โดยเฉพาะผู้หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุและเด็ก สาเหตุเป็นเพราะการชมโทรทัศน์ 3 มิติ จะทำให้ร่างกายมีความเครียดผิดปกติ ทั้งภาพที่มีสีฉูดฉาดก่อความระคายตา และกระทบกระเทือนต่อสมองอย่างรุนแรง ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเติบโตและก้าวไกลไปไวเพียงใด ก็อย่าลืมหันมาดูแลสุภาพตัวเองกันด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ก็สามารถส่งกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน คราวหน้าเราจะรวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้งานคอมพิวเตอร์มาฝากกันค่ะ

อาการติดโทรทัศน์

 อาการติดโทรทัศน์

ความต้องการของมนุษย์นั้นมีหลายรูปแบบ บางครั้งเราต้องการวัตถุเช่น บ้านและอาหาร แต่ในบางโอกาสเราก็ต้องการความรู้สึกเช่น ความรักและความอาทร เป็นต้น แต่ถ้าความต้องการทางจิตใจนั้นมีมากถึงระดับขาดไม่ได้ นักจิตวิทยาเรียกอาการดังกล่าวว่า ติด เช่น ติดยา ติดพนันหรือติดเหล้า เป็นต้น โลกทุกวันนี้มีอาการติดอีกชนิดหนึ่งที่ผู้คนเป็นกันมากคือ ติดโทรทัศน์ จนพ่อแม่บางคนมีความรู้สึกว่า ลูกของตน (และบางครั้งก็ตนเอง) ติดทีวี ซึ่งหมายความว่า เขาใช้เวลาดูทีวีนานและมากกว่าที่จิตใจเขาต้องการ และถึงแม้เขาจะพยายามลดเวลาการจ้องจอทีวีสักเท่าใด เขาก็ทำไม่สำเร็จ ในกรณีการติดอย่างรุนแรง ชีวิตในครอบครัวและชีวิตในสังคมของคนติดทีวีจะบกพร่อง และในที่สุดคนคนนั้นก็จะหลบหนี ตัดขาดจากสังคมไปอย่างถาวร
นักจิตวิทยาได้รู้มานานพอสมควรแล้วว่า รายการทีวีที่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง สามารถเหนี่ยวนำให้คนที่มีความรู้สึกอ่อนไหว ลอกเลียนพฤติกรรมภัยได้ แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า การดูทีวีเป็นเรื่องผิดจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรม เพราะรายการโทรทัศน์หลายรายการให้ความรู้เชิงความบันเทิงแก่คนดู นอกจากนี้การดูภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ก็ยังเป็นทางออกเชิงอารมณ์ให้คนดู (บางคน) ได้หลบหนีจากชีวิตที่น่าเบื่อหน่าย และสุดเซ็งของตนในแต่ละวันได้ด้วย
แต่ปัญหาของการติดทีวีสามารถเกิดได้ เมื่อคนบางคนรู้อยู่แก่ใจว่า ตนไม่ควรใช้เวลาดูทีวีนาน แต่ก็อดเดินไปเปิดทีวีและนั่งดูหรือนอนดูนานเป็นชั่วโมงจนเสียงานเสียการที่ตนตั้งใจทำ ดังนั้น การศึกษาว่าเหตุใดคนจึงติดทีวีจะสามารถช่วยให้คนติดสื่อประเภทนี้สามารถควบคุมจิตใจ และชีวิตตนเองได้ดีขึ้น
ในวารสาร Scientific American ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 R. Kubey แห่งมหาวิทยาลัย Rutgers ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า คนอเมริกันดูโทรทัศน์โดยเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง ซึ่งคิดเป็น 50% ของเวลาว่างในแต่ละวันที่เขามี และถ้าเขาดูทีวีทุกวันเช่นนี้ หากเขามีอายุยืนถึง 75 ปี เขาก็จะใช้เวลาดูทีวีนานถึง 9 ปี และในการสำรวจโดย Gallup โพลก็ได้สถิติว่าในปี พ.ศ. 2543 ผู้ใหญ่ 40% และเด็ก 70% มีความรู้สึกว่าตนใช้เวลาดูทีวีมากเกินไปจนถึงระดับ "ติด" อย่างรุนแรง และคนติดทีวีเหล่านี้เวลาจะดูทีวีก็มักให้เหตุผลว่าการดูโทรทัศน์ จะทำให้ตนรู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ แต่ทันทีที่ปิดทีวีความเครียดก็จะหวนกลับมาทันที ในการตรวจสอบการอ้างนี้ Kubey ได้ถ่ายภาพสมองและวัดชีพจรของคนเวลาดูทีวี
เขาได้พบว่า ขณะดูทีวีอารมณ์ของคนดูจะไม่เครียดและไม่กระตือรือร้นใดๆ และเมื่อถึงเวลาปิดทีวีความเครียดจะคลายลงไปมาก แต่ความไม่กระตือรือร้นก็ยังคงมีต่อไป ข้อมูลที่ได้นี้แสดงให้เห็นชัดว่า โทรทัศน์ได้ดึงดูดพลังชีวิตไปจากคนดู จนทำให้เขารู้สึกอ่อนเพลียไร้สมาธิ ซึ่งก็ตรงกับผลการสำรวจที่ได้ในเวลาต่อมาว่า สมาธิของคนหลังดูทีวีแย่กว่าก่อนดู แต่ถ้าเป็นการเล่นกีฬาออกกำลังกาย เรามักพบว่าสมาธิหลังเล่นดีกว่าก่อนเล่น
Kubey ได้พบอีกว่า เวลาจะเปิดทีวีคนทั่วไปมักรู้สบายๆ ไม่เครียดเสมือนจะบอกตนว่า เวลาต่อไปนี้คือเวลาพักผ่อนแล้ว แต่เมื่อดูไปๆ คนดูจะรู้สึกอ่อนล้า หรือเวลาไม่มีทีวีดูเขาก็จะรู้สึกเครียด เพราะคิดไปว่า การดูทีวีคือการคลายเครียด ความคิดเช่นนี้ทำให้เขาต้องเปิดทีวีดูทุกครั้งที่เครียด และการเปิดทีวีบ่อยๆ จะทำให้คนคนนั้นติดทีวีในที่สุด
เมื่อ 75 ปีก่อน Ivan Pavlov นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ได้พบว่า สมองคนมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งกระตุ้นเร้าได้เช่น เวลาเราเห็นอะไรก็ตาม ม่านตาเราจะขยายตัวและเส้นเลือดที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อจะหดตัว เพราะสมองจะทำหน้าที่หาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ตาเห็น ในขณะที่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกายจะอยู่ในภาวะสงบนิ่ง ด้วยเหตุนี้เมื่อใดก็ตามที่มีการเปิดทีวี คนทุกคนจะอดไม่ได้ที่จะเหลือบไปดูหรือจ้องดูไปเรื่อยๆ เหมือนตนถูกทีวีสะกดจิตยังไงยังงั้น การทดสอบยังแสดงให้เห็นอีกว่า ภายในเวลาเพียง 4-6 วินาที หลังจากเริ่มดูทีวีอัตราการเต้นของหัวใจคนดูจะลดลงทันที
การอดไม่ได้ที่จะดูเพราะสมองต้องการรู้ข้อมูลนี้ มีผลต่อเนื้อหาของการทำ music video และวิธีการโฆษณาสินค้าทางทีวี ซึ่งเราจะเห็นว่าในการผลิตสื่อประเภทนี้ ผู้ผลิตมักใช้วิธีตัดต่อและสอดแทรกภาพต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่ภาพเหล่านั้นบางภาพไม่เกี่ยวข้องกันเลย ทั้งนี้เพราะผู้โฆษณาหรือผู้ขายต้องการให้คนดูจับตาและสนใจดูมากกว่าที่จะให้ข้อมูลแก่คนดู ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อโฆษณาหรือวิดีโอจบ คนดูจำรายละเอียดของการโฆษณาแทบไม่ได้เลย แต่อาจจำชื่อของสินค้านั้นได้เท่านั้น และมักรู้สึกเหนื่อยอ่อนเพราะสายตาต้องติดตามภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ซึ่งก็ทำให้ผู้โฆษณาพอใจ เพราะเวลาคนดูไปซื้อสินค้าประเภทนั้น ถึงแม้เขาแทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสินค้าเลย แต่เขาก็รู้สึก "คุ้นเคย" กับสินค้าเพราะจำชื่อสินค้านั้นได้
ในการทดสอบสภาพจิตใจของการดูทีวีว่า การดูทีวีมากมีอิทธิพลต่อคุณภาพการทำงาน การกิน การอ่านหนังสือ และการสนทนาอย่างไร นักจิตวิทยาได้พบว่า คนติดทีวีมักไม่ชอบการอยู่ร่วมกับคนอื่น และเวลาว่างคนติดทีวีจะรู้สึกกระวนกระวายมากกว่าคนไม่ติด หรือเวลาเข้าคิวใจคนติดทีวีจะสงบน้อยกว่า และรู้สึกเบื่อหน่ายง่าย รวมทั้งมีสมาธิสั้นด้วย และคนติดทีวีมักอ้างว่า การดูทีวีจะทำให้เขาลืมเรื่องร้าย และเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆ ได้ นักจิตวิทยามีคำถามหนึ่งที่น่าสนใจคือ คนเราติดทีวีเพราะเหตุใด เพราะเขารู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตหรือเพราะเหงา หรือการดูทีวีมากทำให้คนดูรู้สึกเบื่อและเหงากันแน่
L. Jerome แห่งมหาวิทยาลัย Yale ในสหรัฐอเมริกาได้เคยศึกษาเรื่องนี้ และได้ข้อสรุปว่า ถ้ายิ่งดูทีวีสมาธิจะยิ่งสั้น และคนที่ดูทีวีมากจะมีขีดความอดนทนและอดกลั้นต่อปัญหาชีวิตในระดับต่ำ และเมื่อประมาณ 25 ปีก่อนนี้ T.M. Mac.Beth Williams แห่งมหาวิทยาลัย British Columbia ในแคนาดา ก็ได้พบว่าจากการศึกษาวิถีชีวิตของชาวเขาในสมัยที่ยังไม่มีทีวี สมาชิกในครอบครัวสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์ แต่พอมีทีวีสมาชิกในยามว่างมีความรู้สึกอดทนและอดกลั้นน้อยลง หรือในยามทีวีเสีย บุคคลในครอบครัวจะกระสับกระส่ายและวิวาทกันบ่อย หลายคนในครอบครัวมีความรู้สึกว่า การขาดทีวีเกือบเหมือนการขาดอากาศหายใจ
สำหรับวิธีการที่ต่อต้านการติดทีวีนั้น นักจิตวิทยาแนะนำว่าคนติดต้องตระหนักให้ได้ก่อนว่า ตนกำลังมีปัญหาเรื่องนี้ เพราะตนใช้เวลามากเกินไป (กว่า 7 ชั่วโมง/วัน) อยู่หน้าจอทีวี และการดูรายการทั้งหลายนั้นไม่อำนวยประโยชน์อะไรมาก การจดบันทึกรายการที่ตนดูในแต่ละวัน จะช่วยให้ตนดูรู้ว่าสิ่งที่ตนดูนั้น มีคุณภาพเช่นไร จากนั้นวิธีแก้ไขขั้นต่อไปคือ เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหารเย็นก็ให้หากิจกรรมอื่นทำ การฝึกจิตใจให้เข้มแข็งก็เป็นเรื่องจำเป็น เพราะเราจำต้องตัดใจปิดทีวี หากภาพยนตร์ที่เราดูไม่ดี ซึ่งเราจะรู้ภายใน 5 นาที แทนที่จะทนดูไปอีกนาน 2 ชั่วโมง การตั้งนาฬิกาจับเวลาก็สามารถช่วยได้บ้าง เพราะเวลานาฬิกาปลุกดัง นั่นหมายความว่าเด็กหมดเวลาดูทีวีแล้ว และเด็กจะรู้สึกเหมือนกับได้ยินเสียงระฆังเตือนให้เข้าเรียน หรือเลิกเรียนในโรงเรียน ทีวีเมืองนอกทุกวันนี้มีไมโครชิฟสำหรับป้องกันมิให้คนดูดูรายการทีวีที่โหดร้ายทารุณได้ นี่เป็นวิธีควบคุมคุณภาพรายการดูวิธีหนึ่ง และครอบครัวหนึ่งๆ ก็ไม่ควรมีโทรทัศน์มากเท่าจำนวนสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้สมาชิกได้ดูรายการร่วมกัน วิธีเหล่านี้อาจช่วยบังคับคนบางคนไม่ให้ติดทีวีได้ นอกจากนี้การศึกษาในโรงเรียนควรมีการสอนให้รู้จักคุณโทษของการใช้สื่อต่างๆ ในการเรียนรู้ด้วย เพื่อให้เด็กสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ข้อมูลข่าวสารที่เขาได้รับนั้น มีประโยชน์และโทษเพียงใด
การติดวิดีโอเกมและอินเทอร์เน็ตในเด็ก ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่ยังไม่มีการวิจัยมากในกรณีเด็กบางคนการเล่นเกมเป็นทางออกของจิตใจที่ต้องการหลบหนีจากชีวิตที่ยุ่งยากลำบาก ซึ่งการได้เล่นจะทำให้เด็กมีความรู้สึกดี แต่ถ้าทุกครั้งที่กังวลหรือ กลุ้มแล้วต้องหันเข้าหาเกม เราก็ถือเป็นอาการติดที่ต้องบำบัด นอกจากนี้ข้อเสียอีกประการหนึ่งของการเล่นเกมคือ ทำให้คนเล่นเหนื่อยและเวียนศีรษะหากเล่นนานด้วย ดังที่มีรายงานเมื่อ 5 ปีก่อนนี้ว่า หลังจากที่ได้เล่นเกม Pokemon เด็กญี่ปุ่น 700 คน ถูกหามส่งโรงพยาบาลเพราะเป็นโรคชักกระตุก อันเป็นผลจากการเล่นเกมนาน บริษัทผู้ผลิตเกมนี้จึงต้องออกคำเตือนให้ผู้เล่นระมัดระวัง เพราะการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของภาพบนจอ มักทำให้สมองเด็กมึนหลังจากที่เล่นไปได้นานประมาณ 15 นาที
ในอนาคต จำนวนคนดูและติดทีวีจะมากขึ้นๆ เมื่อโทรทัศน์สามารถกำหนดพฤติกรรมของคนดูได้ เราจึงต้องระมัดระวังอำนาจหรืออิทธิพลจากสื่อประเภทนี้ไม่ให้กระทบกระเทือนต่อชีวิตเรานัก เพราะทีวีเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการบันเทิงและเป็นทางออกให้จิตใจที่วุ่นวายได้หลบหนีชั่วขณะหนึ่ง มันจึงเป็นประโยชน์ ถ้าเราดูรายการต่างๆ อย่างพอประมาณ แต่ถ้าเราดูมันมากไป มันจะชะลอการพัฒนาชีวิตของเรา และถ้าเราติดมันชีวิตด้านมนุษยสัมพันธ์ของเราจะถูกทำลายอย่างถาวรครับ