ชนิดของตัวเก็บประจุ |
|
|
|
ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่ (Fixed Capacitor)
|
|
|
 คือตัวเก็บประจุที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ โดยปกติจะมีรูปลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นทรงกระบอก ซึ่งมักแสดงค่าที่ตัวเก็บประจุ เช่น 5 พิโกฟารัด (pF) 10 ไมโครฟารัด (  F) แผ่นเพลทตัวนำมักใช้โลหะและมีไดอิเล็กตริกประเภท ไมก้า เซรามิค อิเล็กโตรไลติกคั่นกลาง เป็นต้น การเรียกชื่อตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่นี้จะเรียกชื่อตามไดอิเล็กตริกที่ใช้ เช่น ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลติก ชนิดเซรามิค ชนิดไมก้า เป็นต้น ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่มีใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมีดังนี้คือ
|
|
|
|
|
รูปที่ 3 แสดงตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่
|
|
 ชนิดอิเล็กโตรไลต์ (Electrolyte Capacitor) เป็นที่นิยมใช้กันมากเพราะให้ค่าความจุสูง มีขั้วบวกลบ เวลาใช้งานต้องติดตั้งให้ถูกขั้ว โครงสร้างภายในคล้ายกับแบตเตอรี่ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ำหรือใช้สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง มีข้อเสียคือกระแสรั่วไหลและความผิดพลาดสูงมาก
|
|
|
|
|
รูปที่ 4 แสดงตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลต
|
|
 ชนิดแทนทาลั่มอิเล็กโตรไลด์ (Tantalum Electrolyte Capacitor) ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความผิดพลาดน้อยใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะใช้ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลั่มอิเล็กโตรไลต์แทนชนิดอิเล็กโตรไลต์ธรรมดา เพราะให้ค่าความจุสูงเช่นกัน โครงสร้างภายในประกอบด้วยแผ่นตัวนำทำมาจากแทนทาลั่มและแทนทาลั่มเปอร์ออกไซค์อีกแผ่น นอกจากนี้ยังมีแมงกานิสไดออกไซค์ เงิน และเคลือบด้วยเรซิน ดังรูปที่ 5
|
|
|
|
|
รูปที่ 5 แสดงตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลั่มอิเล็กโตรไลด์
|
|
 ชนิดไบโพล่าร์ (Bipolar Capacitor) นิยมใช้กันมากในวงจรภาคจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเครื่องขยายเสียง เป็นตัวเก็บประจุจำพวกเดียวกับชนิดอิเล็กโตรไลต์ แต่ไม่มีขั้วบวกลบ บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า ไบแคป
|
|
|
|
|
รูปที่ 6 แสดงตัวเก็บประจุชนิดไบโพล่าร์
|
|
 ชนิดเซรามิค (Ceramic Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด (  F) นิยมใช้กันทั่วไปเพราะมีราคาถูก เหมาะสำหรับวงจรประเภทคัปปลิ้งความถี่วิทยุ ข้อเสียของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคคือมีการสูญเสียมาก
|
|
|
|
|
รูปที่ 7 แสดงตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค
|
|
 ชนิดไมล่าร์ (Mylar Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่ามากกว่า 1 ไมโครฟารัด (  F) เพราะฉะนั้นในงานบางอย่างจะใช้ไมล่าร์แทนเซรามิค เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดและการรั่วไหลของกระแสน้อยกว่าชนิดเซรามิค เหมาะสำหรับวงจรกรองความถี่สูง วงจรภาคไอเอฟของวิทยุ, โทรทัศน์ ตัวเก็บประจุชนิดไมล่าร์จะมีตัวถังที่ใหญ่กว่าเซรามิคในอัตราทนแรงดันที่เท่ากัน
|
|
|
|
|
รูปที่ 8 แสดงตัวเก็บประจุชนิดไมล่าร์
|
|
 ชนิดฟีดทรู (Feed-through Capacitor) ลักษณะโครงสร้างเป็นตัวถังทรงกลมมีขาใช้งานหนึ่งหรือสองขา ใช้ในการกรองความถี่รบกวนที่เกิดจากเครื่องยนต์มักใช้ในวิทยุรถยนต์
|
|
|
|
|
รูปที่ 9 แสดงตัวเก็บประจุชนิดฟีดทรู
|
|
 ชนิดโพลีสไตรีน (Polystyrene Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าน้อยระดับนาโนฟารัด (nF) มีข้อดีคือให้ค่าการสูญเสียและกระแสรั่วไหลน้อยมาก นิยมใช้ในงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุและวงจรจูนที่ต้องการความละเอียดสูง จัดเป็นตัวเก็บประจุระดับเกรด A
|
|
|
|
|
รูปที่ 9 แสดงตัวเก็บประจุชนิดโพลีสไตรีน
|
|
 ชนิดซิลเวอร์ไมก้า (Silver Mica Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่มีค่า 10 พิโกฟารัด (pF) ถึง 10 นาโนฟารัด (nF) เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดน้อย นิยมใช้กับวงจรความถี่สูง จัดเป็นตัวเก็บประจุระดับเกรด A อีกชนิดหนึ่ง
|
|
|
|
|
รูปที่ 10 แสดงตัวเก็บประจุชนิดซิลเวอร์ไมก้า
|
|
ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)
|
|
|
 ค่าการเก็บประจุจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของแกนหมุน โครงสร้างภายในประกอบด้วย แผ่นโลหะ 2 แผ่นหรือมากกว่าวางใกล้กัน แผ่นหนึ่งจะอยู่กับที่ส่วนอีกแผ่นหนึ่งจะเคลื่อนที่ได้ ไดอิเล็กตริกที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกันคือ อากาศ ไมก้า เซรามิค และพลาสติก เป็นต้น
|
|
|
|
|
รูปที่ 11 แสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้
|
|
 ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีคือทริมเมอร์และแพดเดอร์ (Trimmer and Padder) โครงสร้างภายในประกอบด้วยแผ่นโลหะ 2 แผ่นวางขนานกัน ในกรณีที่ต้องการปรับค่าความจุ ให้ใช้ไขควงหมุนสลักตรงกลางค่าที่ปรับจะมีค่าอยู่ระหว่าง 1 พิโกฟารัด (pF) ถึง 20 พิโกฟารัด (pF) การเรียกชื่อตัวเก็บประจุแบบนี้ว่าทริมเมอร์หรือแพดเดอร์นั้นขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปต่อในลักษณะใด ถ้านำไปต่อขนานกับตัวเก็บประจุตัวอื่นจะเรียกว่า ทริมเมอร์ แต่ถ้านำไปต่ออนุกรมจะเรียกว่า แพดเดอร์
|
|
|
ตัวเก็บประจุแบบเลือกค่าได้ (Select Capacitor)
|
|
|
 คือตัวเก็บประจุในตัวถังเดียว แต่มีค่าให้เลือกใช้งานมากกว่าหนึ่งค่าดังแสดงในรูปที่ 12
|
|
|
|
|
รูปที่ 12 แสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุแบบเลือกค่าได้
|
|
|
หน่วยความจุ |
|
|
|
|
|
 C = ค่าการเก็บประจุมีหน่วยเป็นฟารัด (F)
 Q = ประจุไฟฟ้ามีหน่วยเป็นคูลอมบ์(C)
 V = แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลท์(V)
|
|
|
 ค่าความจุจะพิมพ์ติดไว้บริเวณตัวเก็บประจุ ตัวอย่างเช่น 150  F 100V, 10  F 50V ตัวเก็บประจุบางตัวแสดงค่าเป็นรหัสตัวเลข เช่น 103 วิธีการอ่านค่าจะใช้วิธีเดียวกับการอ่านค่าแถบสีตัวต้านทาน สีที่ 1 และ 2 จะเป็นตัวตั้ง ส่วนสีที่ 3 หมายถึงตัวคูณ แล้วอ่านค่าเป็นหน่วยพิโกฟารัด จากในรูปที่ 13 เขียนตัวเลข 103 บนตัวเก็บประจุจะอ่านค่าได้ 10 และเติม 0 ไปอีก 3 ตัว ทำให้ได้ค่า 10,000 pF หรือมีค่าเท่ากับ 0.01  F
|
|
|
|
|
รูปที่ 13 แสดงค่าความจุและรหัสตัวเลขที่พิมพ์ติดไว้บริเวณตัวเก็บประจุ
|
|
|
|
การอ่านค่าความจุสามารถกระทำได้ตามวิธีที่อธิบายดังกล่าว แต่ในปัจจุบันตัวเก็บประจุได้ผลิตออกมามากมาย วิธีการอ่านก็มีหลากหลายวิธีมาก ดังนั้นผู้เขียนจะแสดงรูปและอธิบายวิธีการอ่านแต่ละตัวพอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป นอกจากนี้ตัวเก็บประจุได้แสดงค่าผิดพลาดและอัตราทนแรงดันไว้บนตัวเป็นอักษรภาษาอังกฤษเอาไว้แต่ละตัวมีความหมายดังนี้คือ
|
|
|
ตารางที่ 2 แสดงอักษรที่บอกค่าผิดพลาดและอัตราทนแรงดันบนตัวเก็บประจุ
|
|
|
อักษรตัวที่ 1
|
ค่าความผิดพลาด (%)
|
อักษรตัวที่ 2
|
อัตราทนแรงดัน (VDC)
|
D
|
5
|
A
|
50
|
F
|
1
|
B
|
125
|
G
|
2
|
C
|
160
|
H
|
2.5
|
D
|
250
|
J
|
5
|
E
|
350
|
K
|
10
|
G
|
700
|
M
|
20
|
H
|
1,000
|
|
|
|
|
| ตัวเก็บประจุนี้มีความจุ 100 F ค่าผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์ อัตราทนแรงไฟ 40 V ผลิตที่ประเทศเยอรมัน MF หมายถึง ไมโครฟารัด D ค่าผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์ W-GERMANY ประเทศผู้ผลิต |
|
|
|
|
ตัวเก็บประจุนี้มีความจุ 0.01  F B อัตราทนแรงดัน 125 V 103 มีความหมายดังนี้คือ 1 หมายถึงตัวตั้งตัวที่ 1 0 หมายถึงตัวตั้งตัวที่ 2 3 หมายถึงเติม 0 ไป 3 ตัว อ่านค่าได้ 10,000 pF หรือ 0.01  F K ค่าผิดพลาด 10 เปอร์เซ็นต์
|
|
|
|
|
ตัวเก็บประจุนี้มีความจุ 0.05  F ค่าผิดพลาด 10 เปอร์เซ็นต์ 503 มีความหมายดังนี้คือ 5 หมายถึงตัวตั้งตัวที่ 1 0 หมายถึงตัวตั้งตัวที่ 2 3 หมายถึงเติม 0 ไป 3 ตัว อ่านค่าได้ 50,000 pF หรือ 0.05  F A อัตราทนแรงดัน 50 V
|
|
|
|
|
ตัวเก็บประจุนี้มีความจุ 150  F อัตราทนแรงไฟ 100 V  F หมายถึง ไมโครฟารัด
|
|
|
|
|
ตัวเก็บประจุนี้มีความจุ 0.1  F ค่าผิดพลาด 0.1 เปอร์เซ็นต์  F หมายถึง ไมโครฟารัด 63 หมายถึงอัตราทนแรงไฟ 63 V B ค่าผิดพลาด 0.1 เปอร์เซ็นต์
|
|
|
|
|
ตัวเก็บประจุนี้มีความจุ 0.02  F ค่าผิดพลาด 10 เปอร์เซ็นต์ อัตราทนแรงไฟ 60 V กรณีที่มีจุดทศนิยมนำหน้าให้อ่าน หน่วยออกมาเป็นไมโครฟารัด K ค่าผิดพลาด 10 เปอร์เซ็นต์
|
|
|
 หน่วยความจุที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยพิโกฟารัดและไมโครฟารัด เมื่ออ่านค่าเป็นพิโกฟารัด และต้องการแปลงเป็นหน่วยไมโครฟารัด สามารถทำหารเทียบกับหน่วยจาก 1,000,000 พิโกฟารัด เท่ากับ 1 ไมโครฟารัด แล้วเทียบค่าออกมา ดังนี้
|
|
|
|
|
|
|
 ในกรณีที่ตัวเก็บประจุแสดงค่าเป็นแถบสีนิยมใช้กับตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลั่มซึ่งจะมีแบบ 3 แถบสี และ 5 แถบสี วิธีการก็จะคล้าย ๆ กับการอ่านค่าแถบสีของตัวต้านทาน โดยจะแสดงรูปและอธิบายวิธีการอ่านแต่ละตัวพอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไปดังนี้
|
|
|
|
|
แถบที่ 1 สีแดงมีค่าเท่ากับ 2 แถบที่ 2 สีเขียวมีค่าเท่ากับ 5 แถบที่ 3 สีส้มมีค่าเท่ากับ 3 สีที่ 1 และสีที่ 2 เป็นตัวตั้ง สีที่ 3 เป็นตัวคูณ หรือตัวเติมศูนย์ อ่านค่าได้ 25,000 พิโกฟารัด
|
|
|
|
|
แถบที่ 1 สีแดงมีค่าเท่ากับ 2 แถบที่ 2 สีเขียวมีค่าเท่ากับ 5 แถบที่ 3 สีเหลืองมีค่าเท่ากับ 4 แถบที่ 4 สีส้มมีค่าเท่ากับ 3 สีที่ 1 สีที่ 2 และสีที่ 3 เป็นตัวตั้ง สีที่ 4 เป็นตัวคูณ หรือตัวเติมศูนย์ สีที่ 5 แสดงเปอร์เซ็นต์ค่าผิดพลาด อ่านค่าได้ 254,000 พิโกฟารัด 2 %
|
|
|
|
การตรวจวัดตัวเก็บประจุด้วยโอห์มมิเตอร์ |
|
 การตรวจวัดตัวเก็บประจุด้วยโอห์มมิเตอร์ ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ให้ชี้ 0  ตลอดทุกย่าน เพราะการเช็คตัวเก็บประจุด้วยโอห์มมิเตอร์เป็นเพียงการเช็คการลีก ( รั่ว) และการชอร์ตของตัวเก็บประจุ จึงไม่จำเป็นต้องอ่านความต้านทาน แต่จะดูสภาวะการขึ้นและลงของเข็มมิเตอร์ การใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดตัวเก็บประจุจะใช้ได้สำหรับตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุสูงๆ และถ้าเป็นค่าความจุต่ำ ก็ไม่ควรจะต่ำกว่า 0.001 m F หรือโดยทั่วไปไม่ควรต่ำกว่า 0.1  F แต่ถ้าต้องการตรวจวัดตัวเก็บประจุ ที่มีความจุต่ำกว่า 0.001  F การตรวจวัดทำได้โดยใช้ AC โวลต์มิเตอร์ ร่วมกับแหล่งจ่ายไฟ AC เพื่อตรวจวัดการลีก ( รั่ว) ของตัวเก็บประจุ
|
|
|
|
|
รูปที่ 14 การวัดตัวเก็บประจุชนิดไม่มีขั้วบวกลบด้วยโอห์มมิเตอร์
|
|
|
|
การตรวจวัดตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้วบวกลบด้วยโอห์มมิเตอร์
|
|
|
 ตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้วบวกลบ จะเป็นตัวเก็บประจุขนาดเล็กซึ่งมีค่าความจุไม่ถึง 1  F ยกเว้นตัวเก็บประจุที่ทำขึ้นมาพิเศษเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเช่น ตัวเก็บประจุที่ใช้ในพัดลม ตัวเก็บประจุที่ใช้แยกเสียงลำโพง (CROSSOVER NETWORK) ตัวเก็บประจุพวกนี้จะมีค่าความจุสูงมากกว่า 1  F แต่จะไม่มีขั้ว  ถ้าเป็นตัวเก็บประจุค่าต่ำ ๆ ที่จะใช้โอห์มมิเตอร์วัด มักจะวัดการลีก ( รั่ว) หรือชอร์ต ทำได้โดยตั้งย่านโอห์มมิเตอร์สูงสุด Rx10k นำสายวัดของโอห์มมิเตอร์ไปวัดคร่อมตัวเก็บประจุ ถ้าตัวเก็บประจุตัวนั้นดี ขณะนำปลายเข็มวัดแตะกับตัวเก็บประจุครั้งแรก เข็มของโอห์มมิเตอร์ จะกระดิกขึ้นไปทางด้านขวามือเล็กน้อย และเคลื่อนกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม  เพื่อความแน่นอนในการตรวจวัด การตรวจวัดตัวเก็บประจุควรจะวัดอย่างน้อยสองครั้ง การตรวจวัดครั้งที่สองโดยการสลับสายวัดกับครั้งแรก จะได้ผลการวัดเหมือนครั้งแรก คือเข็มกระดิกขึ้นเล็กน้อยและเคลื่อนกลับไปอยู่ที่เดิมการตรวจวัดครั้งนี้ถือว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ดี  ในการใช้โอห์มมิเตอร์วัดทั้งสองครั้งที่ผ่านมา หากมีครั้งใดครั้งหนึ่งเข็มมิเตอร์ขึ้นแล้วค้าง ไม่เคลื่อนกลับไปอยู่ที่เดิม หรือเคลื่อนกลับแต่ไม่สุดที่เดิมแสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ลีก ( รั่ว)  ในการใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดทั้งสองครั้ง เข็มมิเตอร์เคลื่อนไปทางขวามือสุด ( ด้าน 0  ) และค้างอยู่เช่นนั้นสองครั้ง แสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ชอร์ต  ตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุเกินกว่า 0.001  F ในการวัดด้วยโอห์มมิเตอร์ย่าน Rx10k วัดแล้วเข็มมิเตอร์จะกระดิกขึ้นแล้วตก ความจุของตัวเก็บประจุยิ่งมากขึ้น เข็มมิเตอร์ยิ่งกระดิกสูงขึ้น ( เคลื่อนมาทางขวามือมากขึ้น) และเคลื่อนกลับไปอยู่ที่เดิม ถ้าหากวัดแล้วเข็มมิเตอร์ไม่กระดิกเลย ไม่ว่าสลับสายอย่างไรก็ตาม แสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ขาด
|
|
|
ตารางที่ 3 การวัดการกระดิกของเข็มมิเตอร์ในย่าน Rx10k และต้องปรับให้โอห์มมิเตอร์ขณะชอร์ตปลายสายวัด เข็มมิเตอร์ชี้ 0  พอดี
|
|
|
ค่าความจุของ C (  F)
|
ค่าโอห์มที่เข็มกระดิก อ่านจากสเกลโอห์ม
|
0.01
|
2k 
|
0.018
|
1k 
|
0.03
|
700 
|
0.033
|
600 
|
0.047
|
400 
|
0.05
|
400 
|
0.068
|
250 
|
0.1
|
180 
|
0.2
|
90 
|
0.22
|
80 
|
0.3
|
55 
|
0.33
|
55 
|
0.47
|
35 
|
0.68
|
25 
|
|
|
หมายเหตุ
 1. การวัดการกระดิกของเข็มมิเตอร์ในย่าน Rx10k ก่อนการวัดจะต้องปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ให้พร้อมใช้งาน คือเมื่อชอร์ตปลายเข็มวัดของโอห์มมิเตอร์เข้าด้วยกันเข็มมิเตอร์จะชี้ 0  พอดี  2. ค่าโอห์มที่อ่านออกมาได้ จากการกระดิกขึ้นสูงสุดของเข็มมิเตอร์ไม่ต้องนำค่า x10k มาคูณ ให้อ่านจากสเกลโอห์มที่หน้าปัดของมิเตอร์ได้เลย ค่าที่เขียนในตารางที่ 3 เป็นค่าโดยประมาณ และเป็นค่าที่วัดได้จากตัวเก็บประจุค่าปกติ  3. ข้อควรระวัง ในย่าน Rx10k ของโอห์มมิเตอร์ หากจับปลายเข็มวัดทั้งสองของโอห์มมิเตอร์ ด้วยมือทั้งสองด้าน เข็มมิเตอร์จะขึ้นค้างคงที่ค่าหนึ่งตลอดเวลา อาจทำให้เข้าใจผิด ในการตรวจวัดตัวเก็บประจุ ดังนั้นหากจำเป็นต้องจับปลายเข็มวัดกับตัวเก็บประจุเพื่อทำการวัด ควรจับปลายเข็มวัดกับตัวเก็บประจุเพียงด้านเดียว อีกด้านหึ่งให้จับฉนวนของเข็มวัดและนำไปวัดขาเก็บประจุขาที่เหลือ  4. หากการกระดิกของเข็มมิเตอร์ขึ้นน้อยกว่าปกติ ค่าการกระดิกของเข็มมิเตอร์ในสภาวะปกติจะเป็นเท่าไร ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของตัวเก็บประจุจะวัดได้โดยประมาณตามตารางที่ 3 การกระดิกขึ้นน้อยกว่าปกตินี้แสดงว่าเก็บประจุมีค่าความจุลดลง
|
|
|
การตรวจวัดตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้วบวกลบด้วย AC โวลต์มิเตอร์
|
|
|
 ตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุต่ำกว่า 0.01  F การตรวจวัดด้วยโอห์มมิเตอร์จะสังเกตได้ลำบากมาก เพราะเข็มมิเตอร์จะกระดิกน้อยมากจนดูไม่ทัน ดังนั้นวิธีการที่สะดวกในการทดสอบตัวเก็บประจุค่าปกติ จะต้องใช้ AC โวลต์มิเตอร์กับแหล่งจ่ายไฟ AC 220 V มาร่วมในการตรวจเช็คตัวเก็บประจุ เพื่อต้องการทราบว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ดีหรือลีก ( รั่ว) ซึ่งก่อนใช้วิธีตรวจวัดวิธีนี้ ควรใช้โอห์มมิเตอร์ตั้งย่าน Rx10k วัดตัวเก็บประจุที่จะวัดก่อนว่าไม่ชอร์ตแล้วจึงใช้วิธีนี้ตรวจวัดตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุแต่ละค่าที่มีค่าความจุต่างกัน จะย่อมให้แรงดันไฟ AC ผ่านได้มากน้อยแตกต่างกัน สามารถวัดได้โดยประมาณตามตารางที่ 4
|
|
|
การตรวจวัดตัวเก็บประจุแบบมีขั้วบวกลบ
|
|
|
 ตัวเก็บประจุแบบมีขั้วบวกลบ คือตัวเก็บประจุที่มีขั้วกำกับไว้แน่นอนว่าด้านใด เป็นบวกและด้านใดเป็นลบ ค่าความจุของตัวเก็บประจุชนิดนี้ จะมีค่าตั้งแต่ 1  F ขึ้นไปจนถึงเป็นหมื่นไมโครฟารัด ตัวเก็บประจุชนิดนี้มักเป็นแบบอิเล็กทรอไลติก (ELECTROLYTIC) และแบบแทนทาลัม (TANTALUM)
|
|
|
|
|
รูปที่ 15 การตรวจวัดความจุของตัวเก็บประจุด้วย AC โวลต์มิเตอร์
|
|
ตารางที่ 4 ค่าแรงดันไฟ AC ที่ตัวเก็บประจุยอมให้ผ่าน
|
|
|
ค่าความจุของ C (pF)
|
ค่าแรงดันไฟ AC ที่อ่านได้
|
68
|
10V
|
100
|
15V
|
200
|
30V
|
300
|
45V
|
500
|
70V
|
1000(0.001  F)
|
120V
|
2000(0.002  F)
|
175V
|
3000(0.003  F)
|
205V
|
|
|
 การตรวจวัดตัวเก็บประจุชนิดนี้ สามารถใช้โอห์มมิเตอร์ทำการตรวจสอบสภาพการเก็บประจุ การลีก ( รั่ว) การชอร์ต การเสื่อม และการขาดของตัวเก็บประจุได้ ส่วนย่านของโอห์มมิเตอร์ที่จะตั้งวัดจะเป็นย่านใด ขึ้นอยู่กับค่าความจุของตัวเก็บประจุที่จะวัด ถ้าค่าความจุต่ำ ให้ใช้ย่านวัดของโอห์มมิเตอร์สูง ถ้าค่าความจุสูง ให้ใช้ย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ต่ำลงมา ค่าความจุยิ่งสูงย่านของโอห์มมิเตอร์ที่จะใช้ก็ยิ่งต่ำลงพอประมาณได้ดังนี้   1. ตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุตั้งแต่ 1  F ถึง 33  F ใช้ย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ย่าน Rx1k   2. ตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุตั้งแต่ 33  F ถึง 1,000  F ใช้ย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ย่าน Rx10   3. ตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุตั้งแต่ 1,000  F ถึง 22,000  F หรือมากกว่าใช้ย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ย่าน Rx1  การตรวจวัดตัวเก็บประจุแบบมีขั้วบวกลบจะมีหลักการตรวจวัดเหมือนกับตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้ว คือเมื่อนำสายวัดของโอห์มมิเตอร์มาต่อคร่อมขนานกับตัวเก็บประจุ เข็มมิเตอร์ของโอห์มมิเตอร์จะกระดิกขึ้นไปทางขวามือ และค่อย ๆ ตกลงมาทางซ้ายมือจนสุดสเกล ในการวัดตัวเก็บประจุแบบนี้ ก็เช่นเดียวกับตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้วบวกลบคือต้องวัดสองครั้ง โดยการสลับสายวัดของโอห์มมิเตอร์อีกครั้งหนึ่งและทำการตรวจวัดเหมือนเดิม เข็มมิเตอร์ของโอห์มมิเตอร์จะขึ้นแล้วตกเหมือนเดิมแสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ดี
|
|
|
|
|
รูปที่ 16 การตรวจวัดตัวเก็บประจุแบบมีขั้วบวกลบด้วยโอห์มมิเตอร์
|
|
 ตัวเก็บประจุแบบมีขั้วบางตัว การวัดด้วยโอห์มมิเตอร์ดังกล่าวอาจจะวัดครั้งหนึ่งเข็มมิเตอร์ขึ้นแล้วตกลงสุดสเกล และถ้าวัดอีกครั้งหนึ่งโดยการสลับสายวัดของโอห์มมิเตอร์ เข็มมิเตอร์อาจจะขึ้นค้างไม่ตกหรือตกไม่สุด ซึ่งจะกล่าวได้ว่าการวัดทั้งสองครั้ง เข็มมิเตอร์ ขึ้นแล้วตกครั้งหนึ่ง ขึ้นแล้วค้างครั้งหนึ่ง การวัดตัวเก็บประจุในลักษณะนี้ก็ถือได้ว่าตัวเก็บประจุนี้ดีเช่นเดียวกัน การเกิดลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากคุณสมบัติของตัวเก็บประจุแบบมีขั้วนั่นเอง เมื่อตรวจวัดโอห์มมิเตอร์เข้ากับตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว แบตเตอรี่ของโอห์มมิเตอร์ที่จ่ายออกมาถ้าขั้วของแบตเตอรี่ตรงกับขั้วของตัวเก็บประจุจะทำให้คุณสมบัติของตัวเก็บประจุตัวนั้นเป็นตัวเก็บประจุโดยสมบูรณ์ การตรวจวัดเข็มมิเตอร์จะขึ้นแล้วตก แต่ถ้าขั้วของแบตเตอรี่มีขั้วตรงกันข้ามกับขัวของตัวเก็บประจุ จะทำให้คุณสมบัติของตัวเก็บประจุตัวนั้นเป็นตัวเก็บประจุที่ไม่สมบูรณ์ การตรวจวัดจึงทำให้ขึ้นแล้วค้าง หรือตกไม่สุด การวัดตัวเก็บประจุแบบมีขั้วจะสรุปผลได้ดังนี้   1. ในการใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดตัวเก็บประจุทั้งสองครั้งดังกล่าวถ้าเข็มมิเตอร์กระดิกขึ้นแล้วค้างไม่ตก หรือเข็มมิเตอร์จะค่อย ๆ เคลื่อนไปทางขวามือมากขึ้นเรื่อยๆ หรือขึ้นแล้วตกไม่สุดทั้งสองครั้ง แสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ลีก ( รั่ว)   2. ในการใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดตัวเก็บประจุทั้งสองครั้งดังกล่าวถ้าเข็มมิเตอร์ตีไปสุดสเกลด้านขวามือ ( ด้าน 0  ) ทั้งสองครั้ง แสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ชอร์ต   3. ในการใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดตัวเก็บประจุทั้งสองครั้งดังกล่าวถ้าเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นเลยทั้งสองครั้งแสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้ขาด   4. ตัวเก็บประจุแต่ละค่า เมื่อวัดด้วยโอห์มมิเตอร์เข็มมิเตอร์ของโอห์มมิเตอร์จะกระดิกขึ้นไม่เท่ากัน ตัวเก็บประจุมีค่าความจุมาก เข็มมิเตอร์จะกระดิกขึ้นมาก ตัวเก็บประจุมีค่าความจุน้อย เข็มมิเตอร์จะกระดิกขึ้นน้อย ซึ่งค่าการกระดิกของเข็มมิเตอร์จะมีระดับปกติเท่าไร จะวัดได้โดยประมาณตามตารางที่ 5 ถ้าการกระดิกของเข็มมิเตอร์ที่วัดได้น้อยกว่าปกติ แสดงว่าตัวเก็บประจุตัวนี้มีค่าความจุลดลง
|
|
|
ตารางที่ 5 การวัดการกระดิกของโอห์มมิเตอร์ ในการวัดค่าความจุของตัวเก็บประจุ และต้องให้โอห์มมิเตอร์ขณะชอร์ตปลายสายวัดเข็มมิเตอร์ต้องชี้ 0  พอดีทุกย่าน
|
|
|
ย่านโอห์มที่ตั้ง
|
ค่าความจุของ C (  F)
|
ค่าโอห์มที่เข็มกระดิกอ่านจากสเกลโอห์ม
|
Rx1k
|
1 2.2 3.3 4.7 6.8 10 22 33
|
|
Rx10
|
47 100 220 330 470 1,000
|
|
Rx1
|
2,200 4,700 10,000 15,000 22,000
|
|
|
|
หมายเหตุ  1. การตั้งย่านวัดค่าโอห์มแต่ละย่าน ก่อนการวัดจะต้องปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ให้พร้อมใช้งาน คือเมื่อชอร์ตปลายเข็มวัดของโอห์มมิเตอร์เข้าด้วยกัน เข็มมิเตอร์ต้องชี้ที่ 0  พอดี และต้องปรับแต่งทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนย่านวัด  2. ค่าโอห์มที่อ่านออกมาได้จากการกระดิกขึ้นสูงสุดของเข็มมิเตอร์ ไม่ต้องนำค่าตัวคูณที่ตั้งย่านแต่ละย่านคูณ ให้อ่านจากสเกลโอห์มที่หน้าปัดของมิเตอร์ได้เลย ค่าที่เขียนในตารางที่ 5 เป็นค่าโดยประมาณ และเป็นค่าที่วัดได้จากตัวเก็บประจุค่าปกติ
|
|
|
ข้อควรระวัง 1. การใช้โอห์มมิเตอร์วัดตัวเก็บประจุ จะต้องทำการวัดนอกวงจรโดยปลดขาตัวเก็บประจุขาใดขาหนึ่งออกจากวงจร และถ้าเป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุสูง ก่อนการวัดด้วยโอห์มมิเตอร์ ต้องทำการชอร์ตขาของตัวเก็บประจุทั้งสองเข้าด้วยกันก่อน เพื่อทำการคายประจุแรงดันในตัวเก็บประจุเสียก่อน แล้วจึงทำการตรวจวัดด้วยโอห์มมิเตอร์เพื่อป้องกันโอห์มมิเตอร์ชำรุด และป้องกันการถูกไฟดูดจากค่าแรงดันในตัวเก็บประจุ  2. การตั้งย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ ตั้งแต่ย่าน Rx1k ขึ้นไป ในการตรวจวัดตัวเก็บประจุห้ามใช้มือของผู้วัด จับปลายเข็มวัดทั้งสองของโอห์มมิเตอร์ด้วยมือทั้งสองข้าง เพราะเข็มมิเตอร์จะกระดิกขึ้น เนื่องจากมีกระแสจากโอห์มมิเตอร์ไหลผ่านตัวผู้วัด ทำให้การวัดค่าผิดพลาด แต่ถ้าจับปลายเข็มวัดด้านเดียวหรือสายเดียวไม่เป็นไร  3. อาการเสียของตัวเก็บประจุที่พบบ่อย ได้แก่ ตัวเก็บประจุลีก ( รั่ว) ชอร์ต และค่าความจุลด ค่าความจุมากกว่า 1  F ขึ้นไป อาการเสียจากตัวเก็บประจุลีก ( รั่ว) ชอร์ต และลดค่าลงจะพบได้บ่อยมาก ส่วนค่าความจุที่น้อยกว่า 1  F ลงมา อาการเสียจากค่าดังกล่าวจะเกิดน้อยและไม่บ่อย  4. การเปลี่ยนตัวเก็บประจุ ควรจะเปลี่ยนตัวเก็บประจุให้มีทั้งค่าความจุและค่าทนแรงดันเท่าเดิม ( ค่าทนแรงดันจะมากกว่าค่าเดิมได้ แต่น้อยกว่าค่าเดิมไม่ได้) ค่าความจุไม่ควรใช้มากหรือน้อยกว่าเดิมเพราะอาจจะทำให้วงจรนั้น ๆ ทำงานผิดพลาด จนอาจทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องนั้นชำรุดเสียหายได้หรือใช้งานไม่ได้
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น