วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

มัลติมิเตอร์ (Multimeter ) Multi แปลว่ารวม,  Meter  แปลว่า เครื่องวัด  ดังนั้น Multimeter แปลว่าเครื่องมือวัดรวม ซึ่งประกอบด้วย โวลต์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ และ  มิลลิแอมมิเตอร์ 

ส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์
มัลติมิเตอร์ เป็นมิเตอร์ใช้วัดปริมาณไฟฟ้าได้หลายชนิดถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ต่อผู้ใช้ปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้ เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า  และวัดปริมาณ ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้อีกซึ่งแล้วแต่รุ่นของมัลติมิเตอร์นั้น มัลติมิเตอร์ซันวานับได้ว่าเป็นมัลติมิเตอร์ที่นิยมใช้งานมากยี่ห้อหนึ่งใน ประเทศไทย การทำความรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ  ของมัลติมิเตอร์จึงเป็นเรื่องจำเป็นจะช่วยให้สามารถใช้งานมัลติมิเตอร์ได้ ถูกต้องและเกิดความปลอดภัยทั้งมัลติมิเตอร์และตัวผู้ใช้มัลติมิเตอร์   รูปร่างและส่วนประกอบของมัลติมิเตอร์

แสดงรูปร่างและตำแหน่งของส่วนต่าง ๆ  ของมัลติมิเตอร์ยี่ห้อ SANWA  รุ่น YX-360TR เป็นมัลติมิเตอร์รุ่นที่นิยมใช้งานและมีมัลติมิเตอร์ยี่ห้ออื่น ๆ ที่สร้างเลียนแบบ
มัลติมิเตอร์รุ่นนี้มากมาย ส่วนต่าง ๆ ถูกกำกับไว้ด้วยหมายเลขแต่ละส่วนอธิบายรายละเอียดได้
ดังนี้
หมายเลข 1 คือ สกรูใช้สำหรับปรับแต่งตำแหน่งเข็มชี้ของมิเตอร์ให้ชี้ที่ตำแหน่งด้านซ้ายมือสุดของสเกลพอดี คือชี้ที่เลข 0 หรือเลข ?
หมายเลข 2 คือสวิตซ์ปรับเลือกย่านวัด สามารถหมุนได้รอบตัว ใช้สำหรับการเลือกปริมาณ
ไฟฟ้าที่จะวัด ย่านการตั้งวัดที่เหมาะสม
หมายเลข 3 คือขั้วต่อขั้วบวก (+) ของมิเตอร์หรือขั้ว P ใช้สำหรับต่อสายวัดเส้นสีแดง เพื่อใช้วัดปริมาณไฟฟ้า
หมายเลข 4 คือขั้วต่อขั้วลบ (- COM) ของมิเตอร์หรือขั้ว N ใช้สำหรับต่อสายวัดเส้นสีดำเพื่อใช้วัดปริมาณไฟฟ้า
หมายเลข 5 คือ ขั้วต่อเอาต์พุต (OUTPUT) เป็นขั้วต่อใช้สำหรับวัดความดังของสัญญาณเสียง เช่น จากวงจรขยายเสียง วัดออกมาเป็นเดซิเบล (dB)
หมายเลข 6 คือ ปุ่มสำหรับปรับแต่งให้เข็มชี้ของมิเตอร์ให้ชี้ที่ตำแหน่งศูนย์โอห์มพอดี (0WADJ) ขณะปลายสายวัดของมิเตอร์แตะเข้าด้วยกัน เมื่อใช้ย่านวัดโอห์ม (W) ของมิเตอร์
หมายเลข 7 คือ แผ่นป้ายแสดงชื่อมิเตอร์และรุ่นมิเตอร์
หมายเลข 8 คือ เข็มชี้ของมิเตอร์
1.1.1       การใช้โวลต์มิเตอร์ โวลต์มิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้า หลักการทำงานของโวลต์มิเตอร์ ( แบบแอนะลอก) คือกระแสไฟฟ้าจากแรงดันที่ต้องการวัดไหลผ่าน ตัวต้านทานที่กำหนดย่านวัด (RANGE) ไปเลี้ยง moving coil ที่มีเข็มติดอยู่จะเกิดสนามแม่เหล็กผลักดันกับสนามแม่เหล็กถาวร

แสดงหลักการทำงานของมิเตอร์ 


แสดงวงจร DCV ของมัลติมิเตอร์รุ่น YX-360 TR, YX-360 TRE


แสดงวงจร ACV ของมัลติมิเตอร์รุ่น YX-360 TR, YX-360 TRE


สเกลต่างๆบนหน้าปัดของมิเตอร์ยี่ห้อ SANWA รุ่น YX-360TRA

แสดงสเกลหน้าปัดสำหรับแสดงค่าปริมาณไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ของ
มัลติมิเตอร์ ยี่ห้อ ซันวา รุ่น yx-360TR  แต่ละสเกลใช้แสดงปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิด ถูกกำกับไว้ด้วยหมายเลข แต่ละส่วนอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
หมายเลข 1  คือ สเกลใช้แสดงค่าความต้านทาน  ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน เมื่อตั้งย่านวัดความต้านทานหรือย่าน W
หมายเลข 2  คือ สเกลใช้แสดงค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DCV) และกระแสไฟตรง (DCA) ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง เมื่อตั้งย่านวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงหรือย่าน DCV และใช้สำหรับอ่านค่ากระแสไฟตรง เมื่อตั้งย่านวัดกระแสไฟตรงหรือย่าน DCmA

หมายเลข 3  คือ สเกลใช้แสดงค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (ACV) ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับหรือย่าน ACV
หมายเลข 4  คือ สเกลใช้แสดงค่าอัตราขยายกระแสไฟตรงของตัวทรานซิสเตอร์ (hFE)
ใช้สำหรับอ่านค่าอัตราขยายกระแสไฟตรงของตัวทรานซิสเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม   ที่ตำแหน่ง R X 10 (hFE)
หมายเลข 5  คือ สเกลใช้แสดงค่ากระแสรั่วไหล (Leakage Current) ของตัวทรานซิสเตอร์ (IDEO) ใช้สำหรับอ่านค่ากระแสรั่วไหลระหว่างขาคอลเลคเตอร์ (C) และขาอิมิเตอร์ (E) ของ ตัวทรานซิสเตอร์เมื่อขาเบส (B) เปิดลอยเมื่อตั้งย่านวัดโอห์ม  ที่ X 1 (150 mA), X 10 (15 mA) และ     X 1 k (150 mA) และยังใช้แสดงค่ากระแสภาระ (Load Current) ในการวัดไดโอด (LI)   ใช้สำหรับอ่านกระแสภาระที่วัดไดโอดด้วยย่านวัดโอห์มเป็นทั้งการวัดกระแสไบ แอสตามและ กระแสไบแอสย้อน
หมายเลข 6  คือสเกลใช้แสดงค่าแรงดันภาระ (Load Voltage) ในการวัดไดโอด (LV)  ใช้สำหรับอ่านแรงดันภาระที่วัดไดโอดด้วยย่านวัดโอห์ม เป็นทั้งการวัดกระแสไบแอสตามและกระแสไบแอสย้อนเช่นเดียวกับการวัด LI
หมายเลข 7  คือ สเกลใช้แสดงค่าความดังของสัญญาณเสียงบอกค่าออกมาเป็นเดซิเบล (dB) ใช้สำหรับอ่านค่าความดังของสัญญาณเสียง เมื่อตั้งย่านวัดที่แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับหรือ   ย่าน ACV
หมายเลข 8  คือกระจกเงาเพื่อทำให้การอ่านค่าบนสเกลที่แสดงด้วยเข็มชี้ของมิเตอร์ถูกต้อง ที่สุด การอ่านค่าที่ถูกต้องคือตำแหน่งที่เข็มชี้ของมิเตอร์จริงกับตำแหน่งเข็มชี้ ของมิเตอร์ในกระจกเงาซ้อนกันพอดี

อ้างอิงจาก
http://www2.tatc.ac.th/e-learning/story3.html
อาจารย์พันธ์ศักดิ์ พลอินทร์ ? แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ? วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น